Quartz crisis ทำให้ผมนึกถึง disruption ในวงการต่างๆที่เกิดขึ้นในปัจจุบันเลยครับ ทุกวงการ ทุกอุตสาหกรรมล้วนแต่มี disruption เกิดขึ้นมาแต่ไหนแต่ไรมา
เพียงแต่ว่าในสังคมยุค digital social แบบนี้ ทำให้ disruption มันเห็นผลได้ไว จากที่อาจจะต้องรอดูผลเป็นหลักสิบๆปี ก็สามารถเห็นการเปลี่ยนแปลงในช่วงเวลาแค่ 1-2 ปีเท่านั้น
เหมือนเรื่องระบบธนาคาร เรื่องการสื่อสาร การส่งอาหารถึงบ้าน รอบตัวเราหมุนเร็วขึ้นไปเรื่อยๆ
ผมเพิ่งเขียนเรื่อง Quartz crisis ไว้ใน blockdit เพื่อไว้ให้ตัวเองได้อ่านเอง แล้วเผื่อว่ามีคนสนใจจะอ่านบ้าง จะได้มาร่วมกันแชร์ความคิดเห็นกันบ้างครับ
https://www.blockdit.com/posts/5ffbeb7821142f0cc95f3b61ในวิกฤติครั้งนั้น ก็เหมือนการคัดเลือกแบรนด์ที่ปรับตัวได้ไว แล้วก็มีความเข้มแข็งเพียงพอ สายป่านยาวพอ จนเหลือแบรนด์นาฬิกาสวิสที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักกันจากหลักพันๆแบรนด์ เป็นแค่หลักสิบแบรนด์ในปัจจุบัน
ผมว่า การที่นาฬิกากลไกยังอยู่รอดได้ในกระแสแห่งดิจิตอล ความล้ำยุค คือการที่เรามองนาฬิกาเป็นความคลาสสิค เสียงเดินติ๊กๆของนาฬิกากลไก ทำให้เรารู้สึกเหมือนมันยังมีชีวิตอยู่ มีการเคลื่อนไหว มีความคลาดเคลื่อน ต้องตั้งเวลา ต้องหมุนเม็ดมะยม ต้องไขลาน ทำให้ได้รู้สึกได้ดูแล ทะนุถนอมสมบัติล้ำค่าชิ้นหนึ่งอยู่
่ซึ่งต่างกับสินค้าดิจิตอลต่างๆโดยสิ้นเชิงเลยครับ Smart watch มีประโยชน์ มีการตรวจวัดอะไรๆมากมายได้ มีความเที่ยงตรงแม่นยำกว่านาฬิกากลไกมากมาย แต่เวลาจับต้องสัมผัสก็ยังรู้สึกเหมือนเราจับเมาส์ จับคีย์บอร์ด จับโทรศัพท์ Smart phone ไม่ได้รู้สึกถึงความมีชีวิตของมัน
จุดนี้น่าจะเป็นจุดขายหนึ่งของนาฬิกากลไกที่ยังทำให้มีคนซื้อ มีคนสนใจ ขายกันได้ราคาแพงๆอยู่นะครับ (ไม่นับคนที่ซื้อเป็นทรัพย์สินลงทุนเพิ่มมูลค่านะครับ)